วันอาทิตย์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2560

องค์ประกอบศิลป์ ( Composition ) คือ?
การนำสิ่งต่างๆ มาประยุกต์ ดัดแปลง สร้างสรรค์ จัดร่วมเข้าด้วยกัน ตามสัดส่วนรูปร่าง รูปทรงตรงตามคุณสมบัติของสิ่งนั้นๆ เพื่อให้เกิดผลงานที่มี ความเหมาะสมส่วนจะเกิดความงดงาม น่าสนใจหรือไม่นั้นย่อมขึ้นอยู่กับการนำเสนอภาพรวมของงาน ว่ามีการสื่อถึงเรื่องราว วัตถุประสงค์ ในงานการออกแบบของเรา

ความสำคัญขององค์ประกอบศิลป์
      องค์ประกอบศิลป์ เป็นเรื่องที่ผู้เรียนศิลปะทุกคนต้องเรียนรู้เป็นพื้นฐาน เพื่อที่จะนำไปใช้ได้ให้เกิดประสิทธิภาพในการออกแบบโครงสร้างหรือรูปร่างของภาพ แล้วนำไปประยุกต์ใช้ในงานออกแบบต่างๆ ได้ เช่น การจัดวางสิ่งของเพื่อตกแต่งบ้าน, การจัดสำนักงาน,การจัดโต๊ะอาหาร, จัดสวน, การออกแบบปกรายงาน, ตัวอักษร, และการจัดบอร์ดกิจกรรมต่างๆ สามารถนำไปใช้กับการออกแบบอื่นๆ ได้เป็นอย่างดีซึ่งเหล่านี้ เราต้องอาศัยหลักองค์ประกอบศิลป์ทั้งสิ้น

ส่วนประกอบขององค์ประกอบศิลป์ที่สำคัญ
      ซึ่งจะเป็นส่วนที่เรานำมาเพื่อสร้างสรรค์ผลงานทุกรูปแบบได้ดี ให้น่าสนใจ และมีความสวยงาม ดังนี้
1. จุด ( Point, Dot )
      คือ ส่วนประกอบที่เล็กที่สุด เป็นส่วนเริ่มต้นไปสู่ส่วนอื่นๆ เช่น การนำจุดมาเรียงต่อกันตามตำแหน่งที่เหมาะสม และซ้ำๆ กัน จะทำให้เรามองเห็นเป็น เส้น รูปร่าง รูปทรง ลักษณะผิว และการออกแบบที่น่าตื่นเต้นได้ นอกจากจุดที่เรานำมาจัดวางเพื่อการออกแบบ เราสามารถพบเห็นลักษณะการจัดวางจุดจากสิ่งเป็นธรรมชาติ ที่อยู่รอบๆ ตัวเราได้ เช่น ข้าวโพด รวงข้าว เมล็ดถั่ว ก้อนหิน เปลือกหอย ใบไม้ ลายของสัตว์นานาชนิด ได้แก่ เสือ ไก่ นก สุนัข งู ม้าลาย และแมว เป็นต้น

2. เส้น ( Line)
      เกิดจากจุดที่เรียงต่อกัน หรือเกิดจากการลากเส้นไปยังทิศทางต่างๆ มีหลายลักษณะ เช่น ตั้ง นอน เฉียง โค้ง ฯลฯ เส้น เกิดจากเคลื่อนที่ของจุด หรือถ้านำจุดมาวางเรียงต่อๆ กันก็จะเกิดเป็นเส้นขึ้น เส้นมีมิติเดียว คือ ความยาว ไม่มีความกว้าง ทำหน้าที่เป็นขอบเขตของที่ว่าง รูปร่าง รูปทรง สี น้ำหนัก รวมทั้งเป็นแกนหลักโครงสร้างของรูปร่างรูปทรงต่างๆ


  3. รูปร่างและรูปทรง ( Shape and Form)
รูปร่าง คือ พื้นที่ๆ ล้อมรอบด้วยเส้นที่แสดงความกว้าง และความยาว รูปร่างจึงมีสองมิติรูปทรง คือ ภาพสามมิติที่ต่อเนื่องจากรูปร่าง โดยมีความหนา หรือความลึก ทำให้ภาพที่เห็นมี ความชัดเจน และสมบูรณ์
  4. ค่าน้ำหนัก (Value) คือ ค่าความอ่อนแก่ของบริเวณที่ถูกแสงสว่าง และบริเวณที่เป็นเงาของวัตถุหรือ ความอ่อน - ความเข้มของสีหนึ่ง ๆ หรือหลายสี เช่น สีแดง มีความเข้มกว่าสีชมพู หรือ สีแดงอ่อนกว่าสีน้ำเงิน เป็นต้น การใช้ค่าน้ำหนักจะทำให้ภาพดูเหมือนจริง และมีความกลมกลืน ถ้าใช้ค่าน้ำหนักหลาย ๆระดับ จะทำให้มีความกลมกลืนมากยิ่งขึ้น และถ้าใช้ค่าน้ำหนักจำนวนน้อยที่แตกต่างกันมากจะทำให้เกิด ความแตกต่าง ความขัดแย้ง
   5. บริเวณว่าง (Space) ส่วนที่เป็นพื้นที่ที่ปราศจากองค์ประกอบใด ๆ ถ้าบริเวณที่ว่างมีน้อย ความรู้สึกจากการรับจะรู้สึกแน่น แข่งขัน แย่งชิง ฯลฯ แต่ถ้าบริเวณว่างมีมากจะให้ความรู้สึกว่างเปล่า เงียบเหงา อ้างว้าง หดหู่ ฯลฯ แต่ถ้าบริเวณว่างมีเท่ากันจะให้ความรู้สึกพอดี สมดุล เสมอภาค เป็นต้น
   6. สี (Color) สีเป็นคุณลักษณะที่สามารถรับรู้ได้ด้วย ประสาทตา โดยอาศัยแสงเป็นตัวส่องสว่าง สีแต่ละสีมีสมบัติเฉพาะตัวที่สามารถกระตุ้นเร้าให้เกิดความรู้สึกที่แตกต่าง กันอกไป เช่น สีแดงย่อมกระตุ้นเร้าความรู้สึกให้เกิดแตกต่างไปจากสีขาวหรือสีดำทำให้ความ รู้จากการรับรู้ไม่เหมือนสีเขียว เป็นต้น 


   7. พื้นผิว (Texture) พื้นผิวอาจเป็นเนื้อหยาบหรือเนื้อละเอียด แข็งหรือหยาบ นิ่มหรือเรียบ พื้นผิวจะทำให้ผู้ดูเกิดความรู้สึก ไม่ว่าด้วยสายตาหรือร่างกาย พื้นผิวเปรียบเสมือนตัวแทนของมวลภายในของวัตถุนั้น จากลักษณะพื้นผิวที่ทำให้ความรู้สึกที่แตกต่างกัน ทำให้มีการนำเอาลักษณะต่าง ๆ ของพื้นผิวเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างงานศิลปะ เพื่อกระตุ้นเร้าผู้ดูเกิดความรู้สึกที่ต่างกัน เมื่อได้สัมผัสภาพผลงานที่มีพื้นผิวที่ต่างกัน




วันพฤหัสบดีที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2560

Water color #2

ขั้นตอนในการวาด
1. ร่างโครงภาพที่จะวาดมาคร่าวๆ โดยยังไม่ต้องกดน้ำหนักลงรายละเอียดเข้มมากนัก ให้ร่างไว้โดยประมาณเพื่อที่จะลง     สีในตำแหน่งต่างๆได้ถูกต้อง


2. ลงสีบริเวณใบหน้า โดยใช้ สีเหลือง ส้ม และชมพูม่วง โดยเวลาลงให้ลงสีเหลือง เป็นเบสก่อน ค่อยลงสีส้ม และชมพู       ม่วง ตามลงไปตอนสียังหมาดๆไม่แห้ง เกลี่ยน้ำหนักให้สวยงาม เริ่มลงจากบริเวณแก้มฝั่งหนึ่ง ไล่ไปอีกฝั่งหนึ่ง 
    หน้าผาก และลงจมูกเป็นสิ่งสุดท้าย เวลาลงให้เว้นขาวส่วนที่เป็นแสงตกกระทบบนใบหน้าด้วย และเกลี่ยรอยต่อสี         และจุดที่เว้นไว้ด้วย พู่กันสะอาดซับน้ำหมาดๆ เพื่อให้สีเบลนตัวเข้าหากันเป็นธรรมชาติ


3. ลงสีปาก และเพิ่มน้ำหนักในจุดต่างๆ เช่น เบ้าตาและภายในใบหู ใต้จมูก มุมปาก และสีเบสของคิ้ว โดยเราจะใช้สีส้ม     ผสมกับสีม่วง จะได้เป็นโทนน้ำตาลธรรมชาติที่เหมาะสำหรับการลงหน้ามากกว่าใช้สีน้ำตาลตรงๆ


4. ลงน้ำหนักเงาตาขาวโดยใช้สีฟ้า ผสมให้อ่อนลง และน้ำเงิน ที่เจือให้อ่อนลงแล้ว ในการเพิ่มน้ำหนักเงาตาขาว เพื่อให้     ตาดูไม่ลอยจนเกินไป จากนั้นรอให้สีแห้งแล้วจึงลงน้ำหนักตาดำด้วยสีน้ำตาล เว้นแสงขาวที่สะท้อนในตาไว้ แทรก         สีน้ำเงิน ผสมน้ำตาล ลงไปเป็นสีเข้มสุดของกรอบตาดำและกลางตา ใช้พู่กันสะอาดซับหมาดๆปาดสีน้ำตาล ในลูกตา     ออกนิดนึง เป็นแสงสะท้อนแววตา

5. ตัดเส้นขอบตาเพิ่มรายละเอียดขนตาและขนคิ้วลงไป เพิ่มน้ำหนักเข้มสุดของ รูจมูก กลางปาก และภายในใบหู ให้ดูมี     ความลึกเข้าไปอีก

6. ลงสีน้ำหนักช่วงตัว โดยลงสีเหลือง ให้ชุ่มเป็นเบส เว้นขาวส่วนที่แสงตกกระทบผิวไว้ เพิ่มน้ำหนักด้วยสีส้ม ให้ดูเป็นสี     เนื้อคน และเพิ่มน้ำหนักเข้มสุด ช่วงคอและเงาตามมุมอับด้วยสี ส้ม ผสมสีม่วง


7. ลงสีส่วนแบ็คกราวด์ทีละฝั่ง โดยเริ่มจากการลูบน้ำเปล่าให้ทั่วก่อนบริเวณที่จะลง ฝั่งหนึ่งก่อน แล้วแตะสีเหลือง ไป       ตามจุดต่างๆ แทรกด้วยสีฟ้า และชมพู รอให้หมาด แล้วเพิ่มน้ำหนักชมพูม่วง ไปอีก ให้ดูเป็นเงาดอกไม้จางๆ


8. แทรกน้ำหนักเข้มลงไปด้วยสีฟ้าอมเขียว และน้ำเงินเข้ม เติมเป็นกิ่งก้าน และแทรกสีลงไปในตัวดอกไม้พอประมาณ


9. แบ็คกราวด์อีกฝั่งหนึ่งก็ทำวิธีเดียวกันกับข้อ 7 และ 8


10. ลูบน้ำเล็กน้อย บริเวณส่วนล่างที่จะลงเป็นดอกใหญ่ ใช้พู่กันหัวตัดแตะสีเหลือง ปาดลงไปบางส่วน แล้วปาดน้ำหนักชมพู ชมพูม่วง เร็วๆ เน้นจังหวะ ให้ดูเป็นกลับดอก เพิ่มน้ำหนักเข้มแทรกสี ฟ้าอมเขียว ลงไปพอประมาณ จากนั้นให้ไปเก็บเงาในผมโดยใช้สีเหลืองอ่อน ชมพู และฟ้า แทรกลงไปนิดๆ


12. เก็บงานให้เรียบร้อยโดยการใช้สีโปสเตอร์สีขาวแต่งตรงเส้นผมให้สวยงาม เป็นอันเสร็จการวาดภาพ ขอให้มีความกล้า โดยเฉพาะสีน้ำ เทคนิคที่เราเห็นตามหนังสือต่างๆหรือหน้าเวปไซต์รวมถึงที่อ่านอยู่นี้ เป็นเพียงแนวทางเท่านั้น ทุกๆวิธีการเกิดจากการทดลอง ฝึกฝน ลองผิดลองถูก ผิดเป็นครู เป็นประสบการณ์ให้เราแก้ปัญหาหรือพลิกแพลงได้ตลอด ซึ่งกว่าจะสำเร็จอาจต้องเขียนเป็นร้อยภาพ สิ่งใดผิดพลาดแล้วก็นำไปแก้ในรูปต่อไป 



ตัวอย่างการระบายสีน้ำ


"อย่าให้ความกลัว ทำให้เราไม่กล้าทำอะไรเลย"

Water color #1

               สีน้ำ (Water Color) มีกรรมวิธีในการสร้างสรรค์ผลงานหลายวิธี แต่ในที่นี้ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงเฉพาะเทคนิคที่นิยม ใช้ในการเรียนการสอนกันในโรงเรียนเท่านั้น ดังนี้
1. การระบายแบบเปียกบนแห้ง (Wet into Dry) 
เป็นเทคนิคการระบายสีน้ำในสภาพที่สีผสมน้ำให้เหลวเปียกชุ่มนำไประบายลงในกระดาษที่แห้ง
คือไม่ต้องระบายน้ำให้กระดาษเปียกเสียก่อนหากระบายต่อเนื่องกันจะทำให้เกิดสภาพสีเรียบ
เทคนิคนี้เหมาะสำหรับการระบายรูปทรงเหลี่ยมทั้งหลาย
หรือวัตถุสิ่งของที่มีลักษณะพื้นผิวเรียบ เช่น พื้น หรือผนัง อาคารสิ่งก่อสร้าง เป็นต้น
2. การระบายแบบแห้งบนแห้ง (Dry on Dry)
 เป็นเทคนิคการระบายสีน้ำในสภาพสีที่ข้นหนืดผสมน้ำน้อย
 ลงบนกระดาษที่แห้งไม่เปียกน้ำ เทคนิควิธีการนี้เหมาะสำหรับการระบายสีที่ต้องการแสดง
ให้เห็นถึงลักษณะผิวของวัตถุที่หยาบ ขรุขระ หรือแข็งกระด้าง
 เช่น ผิวของเปลือกไม้ ผิวของดิน หิน ผิงผนังต่างๆ
หรือนำไปใช้ในการเก็บรายละเอียกของภาพในขั้นตอนสุดท้าย
และยังแสดงถึงความรวดเร็วชำนาญในการใช้แปรงพู่กันของผู้วาดอีกด้วย
3. การระบายแบบเปียกบนเปียก (Wet into Wet)
เป็นเทคนิคการระบายสีน้ำที่เหลวเปียกชุ่มลงบนกระดาษที่ลงน้ำให้เปียกชุ่มเตรียมไว้
 สภาพสีที่ได้จะไหลซึมรุกรานเข้าหากัน ให้ความรู้สึกว่าสีเปียกชุ่มน้ำอยู่ตลอดเวลา
เทคนิคนี้เหมาะสำหรับการระบายภาพของท้องฟ้า ผืืนน้ำ
ภูเขาและแนวต้นไม้หรือป่าในระยะไกล
4. การระบายแบบใช้เทคนิคต่างๆ (Texture Surface)
เป็นเทคนิคการระบายสีน้ำที่มีการเตรียมการพื้นผิวของกระดาษด้วยวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ
ก่อนการระบายสีและหลังการะบายสี เช่น การทากาว การหยดเทียนไข
เพื่อสร้างร่องรอยบนกระดาษก่อนระบายสีน้ำทับลงไป หรือการขูด ขีด
ด้วยของปลายแหลมหรือมีคม การโรยเกลือลงบนสีในขณะที่สียังไม่แห้ง 
การนำแอลกอฮอล์มาระบายลงบนสีที่ยังไม่แห้ง เป็นต้น

อุปกรณ์ในการวาด

1. สีน้ำ และถาดสีน้ำ


2. พู่กันหัวแบบต่างๆ ในขนาดต่างๆกับอุปกรณ์เครื่องเขียนต่างๆที่ถนัดใช้


                                        3. กระป๋องใส่น้ำ ผ้าเช็ดสี และกระดาษวาดรูปสีน้ำ




วันพุธที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2560

วาดเส้นพื้นฐาน

        วาดเส้น (Drawing) เป็นวิธีการสร้างภาพโดยวิธีที่ง่ายและรวดเร็ว  เพื่อสื่อความหมายทางการเห็นขั้นเริ่มแรกของมนุษย์ด้วยปัจจัยขั้นพื้นฐาน คือ ร่องรอยต่าง ๆ และเครื่องมือง่าย ๆ ที่อยู่ใกล้ตัว เช่น ถ่าน เศษไม้ หรือแม้แต่นิ้วมือของตนเอง  ซึ่งมนุษย์ต้องการแสดงออกในบางอย่างที่เป็นส่วนตนออกมาให้ปรากฏ  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความเชื่อ ความนึกคิด อารมณ์ความรู้สึก หรือแม้แต่ร่องรอยง่าย ๆ ที่ทำขึ้นมาเอง 
         วาดเส้นเป็นพื้นฐานของงานทัศนศิลป์และออกแบบ  เช่น  จิตรกรรม  ประติมากรรม  ภาพพิมพ์ สถาปัตยกรรม  ออกแบบตกแต่ง  ศิลปะไทย  ลายรดน้ำ  เป็นต้น ก่อนที่เราจะสร้างสรรค์งานศิลปะแขนงต่าง ๆ ดังที่ยกตัวอย่างมาข้างต้น จำเป็นจะต้องมีความชำนาญทางการวาดเส้นให้แม่นยำเสียก่อน  เมื่อมีความชำนาญทางการวาดเส้นแล้วก็จะทำให้การทำงานศิลปะต่าง ๆ ง่ายขึ้น

อุปกรณ์ที่ใช้ในการวาดเส้น
        1. ดินสอดำ Graphite สำหรับวาดเส้นใครใช้ 5B จนถึง EE ขนาดต่ำกว่านี้จะทำให้ภาพเกิดความมันเลื่อม
            สะท้อนทำให้ภาพดูไม่ชัดเจน
        2. ปากกาหมึกซึม มีปลายแหลมเป็นโลหะแบ่งเป็นชนิดบรรจุหมึกในตัวและใช้จุ่มกับหมึก
        3. ปากกาหมึกแห้ง สะดวกในการใช้งาน ขนาดเส้นเท่ากันตลอดเหมาะสำหรับวาดภาพเล็ก
        4. คาร์บอน ( ดินสอถ่าน ) คุณสมบัติเช่นเดียวกับ เกรยอง และชาโคลเพียงแต่เป็นรูปแบบดินสอ
        5. แท่งถ่าน มี 2 ประเภท คือ 1. เกรยอง ( conte crayon ) 2. ชาโคล ( charcoal )
        6. กระดานสำหรับรองวาด จะมีขนาดประมาณ 14X61 ซม. จะเท่ากับกระดาษขนาด A2
        7. กระดาษสำหรับวาด ควรใช้กระดาษอาร์การ์ด เพราะเนื้อกระดาษไม่มีขุยสามารถลบได้หลายครั้ง
       8. ยางลบ ควรใช้ชนิดอ่อนเพราะจะได้ไม่ทำลายกระดาษมาก
       9. มีดคัตเตอร์และกระดาษทราย ใช้ในการเหลาดินสอ กระดาษทรายใช้ฝนให้

การขึ้นโครงสร้างด้วยเส้นแกน
- เส้นแกน
เส้นเป็นแกนของทุกสิ่งบนโลกทั้งมีชีวิติและไม่มีชีวิต ถ้าจับเส้นแกนได้ก้เท่ากับว่าน้องๆจะสามารถเขียนภาพได้ดี และรวดเร็ว
เส้นแกนเป็นฐานการขึ้นโครงของหุ่นทุกแบบ
- เส้นรอบนอก ( outline )
เป็นเส้นรอบนอกของเส้นแกนใช้เพื่อกำหนดรูปทรงของวัตถุสิ่งของต่างๆ ที่จะวาด
น้ำหนักแสงเงา
น้ำหนักแสงเงาเกิดจากแสงที่ไปกระทบกับวัตถุในระดับต่างๆกัน ทำให้วัตถุดูเป็นมิติ


ลักษณะของแสงเงา
    1. แสงสว่างที่สุด HIGHLIGHT เป็นส่วนที่ได้รับแสงโดยตรง มีความสว่างมาก
    2. แสงสว่าง LIGHT อยู่ในส่วนอิทธิพลของแสง มีน้ำหนักเทา
    3. เงา SHADOW เป็นส่วนอยู่ตรงที่ได้รับแสงน้อยมาก มีน้ำหนักเกือบดำ
    4. เงามืด CORE OF SHADOW เป็นส่วนที่ไม่ได้รับแสงเลย
    5. เงาสะท้อน REFLELECED LIGHT เป็นส่วนที่ไม่ได้รับแสงโดยตรง แต่เป็นการสะท้อนกลับจากวัตถุ
        ใกล้เคียง
     6. เงาตกทอด CAST SHADOW เป็นบริเวณที่เงาของวัตถุตกทอดไปตามพื้น